ผู้เขียน หัวข้อ: doctor at home: ไส้ติ่งอักเสบ รู้ให้ไวรักษาได้ทัน  (อ่าน 11 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 185
  • รับจ้างโพสเว็บราคาถูก, รับจ้างโปรโมทเว็บราคาถูก
    • ดูรายละเอียด
doctor at home: ไส้ติ่งอักเสบ รู้ให้ไวรักษาได้ทัน
« เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม 2024, 18:09:00 น. »
doctor at home: ไส้ติ่งอักเสบ รู้ให้ไวรักษาได้ทัน

ไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคปวดท้องเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยจะพบมากในช่วงอายุ 12 – 60 ปี แต่ในคนที่อายุน้อยหรือมากกว่านี้ก็พบได้เช่นกัน โดยไส้ติ่งอักเสบอาการเริ่มต้นของโรคนั้นมีความใกล้เคียงกับอาการปวดท้องเฉียบพลันอื่น ๆ ทำให้บ่อยครั้งผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า มีภาวะแทรกซ้อนจนเกิดอันตรายมากขึ้นได้ การพบแพทย์เฉพาะทางตั้งแต่ระยะแรก ๆ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อแยกอาการเป็นไส้ติ่งจึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

ไส้ติ่งอักเสบคืออะไร

ไส้ติ่งมีลักษณะเป็นท่อตันที่แยกมาจากบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น โดยตำแหน่งจะอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) คือ การอักเสบของไส้ติ่งเป็นผลมาจากการอุดตันของรูท่อไส้ติ่ง ไส้ติ่งอักเสบเกิดจากอาหารที่กินเข้าไปกลายเป็นอุจจาระแข็งตัว หรือภาวะต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณดังกล่าว ทำให้แรงดันในไส้ติ่งสูงขึ้น มีการสะสมของแบคทีเรียและเกิดการอักเสบในที่สุด นอกจากนี้ยังเกิดจากการอุดตันของสิ่งแปลกปลอม ก้อนเนื้องอก หนอนพยาธิได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผนังไส้ติ่งเกิดการเน่าและแตกส่งผลให้เชื้อโรคแพร่กระจายเป็นอันตรายถึงชีวิต

อาการไส้ติ่งอักเสบเป็นอย่างไร

ไส้ติ่งอักเสบอาการแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

    ระยะที่ 1 ไส้ติ่งเริ่มอุดตัน ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้พะอืดพะอมจุกแน่นท้องเบื่ออาหารปวดท้องคล้ายอาการปวดท้องอื่นๆแต่จะเริ่มปวดท้องรอบสะดือเฉียบพลัน
    ระยะที่ 2 ไส้ติ่งเริ่มบวม ผู้ป่วยมักมีอาการของไส้ติ่ง ปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวามากขึ้นชัดเจน หากไอหรือจามจะยิ่งปวดมากขึ้น บางรายอาจมีอาการท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วยได้
    ระยะที่ 3 ไส้ติ่งแตก ผู้ป่วยจะเจ็บมากจนเดินตัวงอเพื่อเลี่ยงไส้ติ่งสัมผัสกับหน้าท้อง เป็นระยะที่อันตรายมากที่สุด เพราะหากไส้ติ่งอักเสบจนบวม เน่า และแตกกระจายทั่วท้อง เชื้อแบคทีเรียอาจแพร่กระจายในช่องท้อง ถ้าไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดโดยเร็วเชื้อโรคอาจเข้าสู่กระแสเลือดส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้


ตรวจวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อยด้านขวา ซึ่งเป็นบริเวณของไส้ติ่ง คือมีอาการปวดไส้ติ่งนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างเร่งด่วน ซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยซักประวัติผู้ป่วย ตรวจร่างกาย ตรวจสัญญาณชีพ และตรวจเม็ดเลือด โดยส่วนใหญ่พบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงอาการติดเชื้ออักเสบ มีการตรวจปัสสาวะหาเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวเพื่อแยกโรคอื่น ๆ รวมทั้งดูภาวะขาดสมดุลน้ำในร่างกาย และอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติมตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อแยกโรคอื่น ๆ หรือประกอบการวินิจฉัยและดูภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่

    ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT – Scan
    ตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound Upper Abdomen)
    ตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)


วิธีรักษาไส้ติ่งเบื้องต้นทำอย่างไร

หากไส้ติ่งอักเสบไม่มาก แพทย์จะทำการรักษาไส้ติ่งอักเสบโดยใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อ ในบางกรณีที่ไส้ติ่งอักเสบไม่ได้อยู่ในขั้นรุนแรงมาก เช่น ไม่มีอาการแตกหรือเป็นฝี การรักษาอาจทำได้โดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อหยุดการติดเชื้อและลดการอักเสบของไส้ติ่ง แต่มีข้อจำกัดโดยเฉพาะในกรณีที่ไส้ติ่งแตกหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อแพร่กระจายและมีความเสี่ยงคือโอกาสการกลับมาอักเสบซ้ำ มีงานวิจัยที่ระบุว่า ประมาณ 20% – 40% ของผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดในภายหลัง และหากการรักษาด้วยยาไม่ประสบความสำเร็จหรืออาการรุนแรงขึ้น อาจต้องกลับมาผ่าตัดที่ซับซ้อนกว่าเดิม ดังนั้นการผ่าตัดจึงเป็นวิธีมาตรฐานที่ยังคงใช้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ


แนวทางการผ่าตัดรักษาไส้ติ่งอักเสบ

ไส้ติ่งอักเสบหายเองไม่ได้ นอกจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในกรณีที่ไม่รุนแรง โดยส่วนใหญ่ไส้ติ่งอักเสบต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อให้หายขาดจากโรค ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและการผ่าตัดเพื่อเอาไส้ติ่งออกผ่านกล้อง

    การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Surgery) แพทย์จะทำการผ่าตัดโดยเปิดแผลบริเวณท้องน้อยด้านขวาในตำแหน่งของไส้ติ่ง แผลจะมีขนาดประมาณ 3 – 10 เซนติเมตร ในกรณีที่ไส้ติ่งแตกอาจต้องเปิดแผลยาวบริเวณกลางท้อง โดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อล้างในช่องท้องและอาจใส่ท่อเพื่อช่วยระบายหนอง วิธีนี้มีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนและผู้ป่วยจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลนานประมาณ 2 – 3 วัน
    การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะมีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ เช่น เห็นไส้ติ่งชัดเจน แผลมีขนาดเล็กประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร ผู้ป่วยเจ็บแผลน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดวิธีนี้ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี 3D เข้ามาใช้เป็นการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 3 มิติ (Advanced 3D Laparoscopic Surgery) โดยที่ปลายกล้องผ่าตัดจะมี 2 เลนส์ ทำให้เห็นระยะความลึกของอวัยวะที่กำลังจะผ่าตัดแบบ 3 มิติ (3D) ซึ่งศัลยแพทย์จะใส่แว่น 3 มิติขณะทำการผ่าตัด ทำให้เห็นความคมชัดของภาพระดับ Full HD หรือเทคโนโลยี 4K Ultra High Definition ที่แสดงผลบนจอภาพขนาด 55 นิ้วด้วยความคมชัดสูงเหนือ Full HD ช่วยให้ศัลยแพทย์เห็นอวัยวะภายในชัดเจนขณะผ่าตัดลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นและช่วยให้ผลการผ่าตัดเป็นที่น่าพอใจ

ทั้งนี้หากไส้ติ่งแตกกระจายทั่วท้อง การผ่าตัดผ่านกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ เลี่ยงการปวดแผลและติดเชื้อหลังผ่าตัดได้ ในกรณีที่ไส้ติ่งเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีหนอง แพทย์เฉพาะทางจะทำการวินิจฉัยด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT – Scan ก่อนทำความสะอาดภายในช่องท้องและระบายหนองจากฝีโดยใส่สายระบายเข้าไป เพื่อรักษาอาการติดเชื้อและลดความรุนแรง แล้วจึงทำการผ่าตัดผ่านกล้อง ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องตัดลำไส้ทิ้งไป ซึ่งความยากของการรักษาไส้ติ่งอักเสบขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความซับซ้อนของโรคเป็นสำคัญ


เตรียมตัวก่อนผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบอย่างไร

    แพทย์จะประเมินและวางแผนการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบโดยอธิบายรายละเอียดการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดและขั้นตอนการผ่าตัดทั้งหมด
    แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาประจำตัว ยาที่รับประทานหากมีการเจ็บป่วย ประวัติการแพ้ยา การตั้งครรภ์
    ควรมีคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หรือเพื่อนมาคอยดูแลและรับส่งผู้ป่วย


ดูแลหลังผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบอย่างไร

    พักฟื้นที่โรงพยาบาลภายใต้คำแนะนำและการดูแลของแพทย์
    หากเจ็บแผลหลังผ่าตัดให้แจ้งแพทย์ทันที
    รักษาความสะอาดของแผลผ่าตัด โดยเช็ดตัวและห้ามแผลเปียกน้ำ เพื่อป้องกันการอักเสบและติดเชื้อ
    ห้ามเกาแผลหรือกระทบกระเทือนแผล อาจทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง และอาการข้างเคียงอื่น ๆ ได้   
    หากต้องการไอให้ใช้มือประคองแผลเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันแผลแยก
    รับประทานยาให้ตรงเวลาและครบถ้วนตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
    รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
    พบแพทย์ตามนัดหมาย หากมีอาการผิดปกติเมื่อกลับบ้าน ควรเข้ามาพบแพทย์ทันที

เพราะไส้ติ่งอักเสบเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลันและไม่มีทางป้องกัน การรู้เท่าทัน หมั่นสังเกตความผิดปกติ และรีบพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ ช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะแม้อาการจะดีขึ้นชั่วคราว แต่อาจกลับมารุนแรงยิ่งกว่าเดิมจนยากต่อการรักษา